ความเคลื่อนไหวทางการเมือง และความพยายามที่จะเจรจา ของ การยึดกรุงไซ่ง่อน

ในขณะที่เวียดนามเหนือรุกคืบเข้ามาในเวียดนามใต้เรื่อยๆ การต่อต้านปธน. เตี่ยวจากในประเทศก็เริ่มสะสม อย่างในเดือนเมษายน เมื่อวุฒิสภาลงมติอย่างเป็นเอกฉันท์เพื่อแสดงท่าทีเรียกร้องให้มีการแต่งตั้งผู้นำคนใหม่ และผู้บัญชาการทหารระดับสูงสุดบางคนกดดันให้มีการก่อรัฐประหาร เพื่อลดแรงกดดัน ปธน. เตี่ยนจึงทำการเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีเติ่น เตียน เฟียมก็ประกาศลาออก[23] การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ค่อยช่วยลดแรงต่อต้านต่อปธน. เตี่ยวสักเท่าไรนัก และในวันที่ 8 เมษายน นักบินชาวเวียดนามใต้ และสายลับให้กับฝ่ายคอมมิวนิสต์เหวน ตันห์ ตรุง ได้ทำการลอบวางระเบิดทำเนียบประธานาธิบดี และหลบหนีไปทางลานบินของกองทัพเวียดนามเหนือ ปธน.เตี่ยนไม่ได้รับบาดเจ็บ[24]

คนจำนวนมากในคณะทูตของอเมริกา โดยเฉพาะมาร์ติน และบุคลากรสำคัญบางคนจากวอชิงตัน เชื่อว่าการเจรจากับฝ่ายคอมมิวนิสต์ยังเป็นไปได้ โดยเฉพาะถ้าไซ่ง่อนยังสามารถรักษาเสถียรภาพทางการทหารเอาไว้ได้ ท่านทูตมาร์ตินยังหวังไว้ว่าผู้นำของเวียดนามเหนือจะยินยอมให้ทหารอเมริกันค่อยๆ ถอนกำลังออกไปเป็นระยะๆ ซึ่งรวมไปถึงการอพยพชาวอเมริกันทั้งหมด และชาวเวียดนามที่มีประโยชน์ออกไป และถอนกำลังทหารทั้งหมดออกไป ภายในระยะเวลาหลายเดือน

มีความเห็นที่แตกต่างกันออกไปเกี่ยวกับผลที่เตี่ยวในฐานะผู้นำรัฐบาลมีต่อการแก้ปัญหาทางการเมือง[25] รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาลปฏิวัติเฉพาะกาลกล่าวในวันที่ 2 เมษายน ว่ารัฐบาลเฉพาะกาลอาจจะยอมเจรจากับรัฐบาลไซง่อนถ้ารัฐบาลนั้นไม่มีเตี่ยวอยู่ ทำให้แรงกดดันที่จะขับไล่เตี่ยวออกจากตำแหน่งเพิ่มขึ้น แม้แต่ในเหล่าผู้สนับสนุนของเตี่ยวเอง[26]

ประธานาธิบดีเตี่ยวประกาศลาออกในวันที่ 21 เมษายน โดยถ้อยแถลงลาออกของเขานั้นมีท่าทีที่ตำหนิรัฐบาลสหรัฐฯ มากเป็นพิเศษ โดยโทษสหรัฐฯ ที่บีบให้เวียดนามใต้ยอมลงนามในข้อตกลงสันติภาพปารีส และล้มเหลวในการสนับสนุนเวียดนามใต้ หลังจากที่เวียดนามใต้ยอมรับข้อตกลง ในขณะที่เรียกร้องให้เวียดนามใต้ "ทำในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เหมือนให้เอาหินไปถมทะเล"[27] ตำแหน่งประธานาธิบดีถูกส่งต่อไปให้กับรองประธานาธิบดีตรัน วัน เฮือง ความเห็นของฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่ได้รับการกระจายเสียงผ่านวิทยุฮานอย กล่าวว่ารัฐบาลใหม่ก็แค่รัฐบาลหุ่นกระบอกอีกชุดหนึ่งเท่านั้น[28]

ใกล้เคียง

การยึดกรุงไซ่ง่อน การยึดครองญี่ปุ่น การยึดครองเซอร์เบียของออสเตรีย-ฮังการี การยึดครองเยอรมนีของสยาม การยึดครองกลุ่มรัฐบอลติก การยึดกรุงคาบูล (พ.ศ. 2564) การยึดครองโรมาเนียของโซเวียต การยึดครองพม่าของญี่ปุ่น การยึดครองกัมพูชาของญี่ปุ่น การยึดครองเมืองซารันจ์